วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

5 ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับไฮดรอลิค

ต่อไปนี้เราจะมาคุยกันเกี่ยวกับเรื่องความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับระบบไฮดรอลิค 5 ข้อ ที่คุณอาจเชื่อว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องจริง!


ความเชื่อที่ 1 # ท่อทางดูดของปั๊มต้องมีกรอง

ไส้กรองทางดูด (Suction Filter) มีขนาด 140 ไมครอน จะถูกขันเข้ากับ Inlet Port ของปั๊ม และแช่อยู่ในถังน้ำมัน กรองเหล่านี้จะเพิ่มโอกาสในการเกิด Cavitation ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับปั๊มมากกว่า

โดยปรกติถ้าถังเก็บน้ำมันที่ใช้ได้รับการทำความสะอาดที่ดีตั้งแต่ต้น, ใช้น้ำมันที่สะอาด และมีระบบการกรองที่ท่อไหลกลับ (Return Line Fillter) ไส้กรองทางดูดก็ไม่จำเป็น เนื่องจากในน้ำมันไฮดรอลิคไม่มีส่วนประกอบของแข็งที่ใหญ่จนกรองทางดูดดักจับได้ ข้อโต้แย้งหลักก็คือ เราติดตั้งไส้กรองทางดูดก็เพื่อปกป้องปั๊มจากเศษทราย เศษดิน ที่อาจจะบังเอิญเข้ามาในระบบ หรือแม้แต่เศษโลหะจากอุปกรณ์ ที่เกิดการเสียดสีแล้วหลุดออกมาปนไปกับน้ำมัน

ความจริงก็คือ เศษโลหะ หรือเศษดินทราย ที่ว่ามีผลต่อปั๊มน้อยมาก ถ้าเราออกแบบถังเก็บน้ำมันอย่างเหมาะสม และทิ้งปลายท่อทางดูดให้สูงเหนือก้นถังพักไม่น้อยกว่า 4 นิ้ว เศษชิ้นส่วนทั้งหลายดังกล่าวจะไม่สามารถกลับเข้าสู่ปั๊มได้เลย ดังนั้นข้อแนะนำก็คือ ถอดกรองทางดูดออกซะ ยกเว้นตำแหน่งเดียวคือที่ CHARGE PUMP ของปั๊มลูกสูบในระบบ HYDROSTATIC TRANSMISSIONS ที่จำเป็นต้องคงไว้

                         **********************************************

ความเชื่อที่ 2 # กระบอก Double Acting ตกเนื่องจากซีลลูกสูบรั่ว

เป็นความเชื่อแบบผิดๆที่น่าเชื่อที่สุดในระบบไฮดรอลิค ความจริงก็คือ กระบอกไฮดรอลิคจะไม่ตก ถึงแม้ว่าเราเอาซีลลูกสูบออก โดยที่น้ำมันในกระบอกยังถูกบรรจุอยู่เต็ม และไม่มีการรั่วซึมทางพอร์ทน้ำมันและซีลฝาหน้า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เนื่องจากปริมาตรที่ไม่เท่ากันในแต่ละด้านของลูกสูบ น้ำมันที่อยู่ในกระบอกจึงมีปริมาตรที่แน่นอน ถ้ากระบอกตกหรือลูกสูบเปลี่ยนตำแหน่ง จะทำให้ปริมาตรภายในกระบอกเปลี่ยนไป ซึ่งไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในระบบปิด เนื่องจากน้ำมันเป็นของเหลวที่อัดตัวไม่ได้ (ที่อุณหภูมิปรกติ) นอกจากน้ำมันจะหนีออกทางพอร์ท หรือซีลฝาหน้า

โดยหลักการนี้เราจะได้ข้อยกเว้นที่สำคัญ 2 ประการ นั่นคือ

1. กระบอก Double Rod ที่มีพื้นที่หน้าตัดของลูกสูบเท่ากันทั้งสองด้าน และ

2. เมื่อกระบอกหิ้วโหลดที่มีน้ำหนักมากๆ ทำให้เกิดแรงดันสูงด้านปลายแกน น้ำมันจะสามารถหนีไปทางด้านปลายกระบอก ในกรณีนี้จะเกิดร่วมกับการเกิดสูญญากาศด้านปลายกระบอกด้วย

                         **********************************************

ความเชื่อที่ 3 # น้ำมันไฮดรอลิคถังใหม่คือน้ำมันที่สะอาด

น้ำมันไฮดรอลิคใหม่จากถัง 200 ลิตร มีค่าความสะอาดตามมาตรฐาน ISO 4406 23/21/18 ตัวเลขเหล่านี้มีความหมายน้อยมากเมื่อเทียบกับโรงงานที่ผลิตน้ำมันเหล่านี้ใช้ปั๊มขนาด 25 แกลลอนต่อนาที ซึ่งสามารถหมุนเวียนเศษฝุ่นผงได้ถึง 3500 ปอนด์ต่อปี ดังนั้นเพื่อที่เราจะไม่ต้องเติมฝุ่นผงเหล่านี้เข้าไปในระบบ จึงควรที่จะกรองน้ำมันใหม่ทุกครั้ง ขั้นตอนง่ายๆก็คือกรองด้วย Return Line Filter โดยต่อข้อต่อสามทางไว้ที่กรองรีเทิร์นแล้วติด Quick Coupling เอาไว้ เวลาจะเติมน้ำมันก็ปั๊มเข้าทางนี้ แค่นี้ก็จะช่วยลดการปนเปื้อนในน้ำมันไฮดรอลิคได้แล้ว


                         **********************************************

ความเชื่อที่ 4 # เนื่องจากน้ำมันไหลผ่านอุปกรณ์ไฮดรอลิคทุกตัวอยู่แล้ว เวลาติดตั้งไม่ต้องอ่านคู่มือ ยึดอุปกรณ์ให้แน่น อย่าให้รั่วก็พอ !!

ลองดูตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง! สมาชิกของเราคนหนึ่งได้ส่งมอเตอร์ไฮดรอลิคแบบลูกสูบที่ยังอยู่ในระยะประกันไปเคลม เนื่องจากมันไม่ทำงานหลังจากใช้งานที่ 500 ชั่วโมงทำงาน ทั้งๆที่มอเตอร์ตัวนี้รับประกันขั้นต่ำที่ 7000 ชั่วโมงทำงาน ฝ่ายเทคนิคได้ตอบกลับมาว่า ไม่สามารถรับเคลมได้ เนื่องจากสาเหตุที่มอเตอร์ไม่ทำงานเกิดจากแบริ่งของมอเตอร์เสียหายอย่างหนักเพราะไม่ได้รับการหล่อลื่น อันเกิดจากผู้ใช้ติดตั้งมอเตอร์ไม่ถูกวิธี มอเตอร์ลูกสูบเมื่อติดตั้งเสร็จแล้วต้องมีการเติมน้ำมันไฮดรอลิคเข้าไปในเคสของมอเตอร์ก่อนเริ่มทำงาน ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนกับเราขับรถโดยที่ไม่ใส่น้ำมันเครื่อง อย่าลืม! อ่านคู่มือทุกครั้งที่ติดตั้งอุปกรณ์

                         **********************************************

ความเชื่อที่ 5 # ท่อน้ำมันที่ไหลกลับถังทั้งหมดต้องผ่านกรอง
อันนี้เกือบจะจริง แต่มีข้อยกเว้นที่สำคัญคือตำแหน่งที่ case drain ของปั๊มหรือมอเตอร์แบบลูกสูบ เนื่องจากท่อ drain ต้องการการไหลกลับที่สะดวก เพื่อป้องกันไม่ให้แรงดันในเสื้อปั๊มหรือมอเตอร์แบบลูกสูบสูงเกินไป ซึ่งจะทำให้ LIP SEAL และ SHAFT SEAL พังได้

                         **********************************************

2 ความคิดเห็น:

  1. แล้วกระบอกไฮดรอลิคยุบตัวได้10-20เซนติเมตรละคับ

    ตอบลบ
  2. 1. ลองไล่อากาศในระบบก่อน
    2. ถ้าใช้ Pilot Check Valve ถือว่าปรกติ กระบอกจะตกนิดหนึ่งแล้วค่อยค้าง ยิ่งถ้าปลายแกนสั่นก่อนหยุด (เช่นใช้เปิดบานประตูแล้วมีอาการกระพือตอนยืดสโตกยาวๆหรือตอนหยุดกะทันหัน)
    3. แนะนำวาล์วกันตกอีกแบบ เรียกว่า "Overcenter Valve หรือ Counter Balance Valve"

    NOTE: ลองเช็คตำแหน่งกลางของวาล์วด้วยนะครับ จะมีตำแหน่งกลางบางแบบที่ไม่เหมาะกับการใช้ควบคุมการล็อกค้างของอุปกรณ์

    ตอบลบ